เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2567 นางสาวสุณีย์ เลิศเพียรธรรม หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวง อว. (หน.ผตร.อว.) และคณะ ลงพื้นที่ตรวจราชการโครงการฐานข้อมูลทรัพยากรกุ้งเคยจากภูมิปัญญาท้องถิ่น
การผลิตกะปิ เพื่อสร้างคุณค่าอัตลักษณ์กะปิเมืองนคร และโครงการการศึกษาและยกระดับอาหารอัตลักษณ์ชนชาติจีน ส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนและการท่องเที่ยวเส้นทางเชื่อมโยงจังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดตรัง ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช (มรภ.นครศรีธรรมราช) โดยมี ผศ.ดร.สมรักษ์ รอดเจริญ
รองอธิการบดี มรภ.นครศรีธรรมราช นางสาวสุกัญญา อามีน ผู้อำนวยการภารกิจขับเคลื่อนนโยบายโดยการวิจัย สำนักงานวิจัยแห่งชาติ (วช.) ผศ.ดร.จุฑามาศ ศุภพันธ์ ผศ.ดร.กรกฎ จำเนียร หัวหน้าโครงการวิจัย พร้อมด้วยคณาจารย์ มรภ.นครศรีธรรมราช ให้การต้อนรับและรายงานผลการดำเนินงานโครงการทั้ง 2 โครงการข้างต้น ณ ห้องประชุมท่อแก้ว ชั้น 3 อาคารอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
ในการนี้ หน.ผตร.อว. และคณะได้ลงพื้นที่ชุมชนบ้านพังปริง ตำบลกลาย อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เยี่ยมชมกระบวนการผลิตกะปิและรับฟังการใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลกุ้งเคย จากผู้นำชุมชนและตัวแทนชาวบ้านอำเภอปากพนังและอำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช และตรวจเยี่ยมพื้นที่กลุ่มเป้าหมายโครงการ ณ ร้านสุขใจ ภัตตาคารบุญญา อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยพูดคุยกับผู้ประกอบการ ชมผลงานการวิจัย เยี่ยมชมศาลเจ้าซำปอกง และเรื่องราวอาหารจีนของอำเภอทุ่งสง
จังหวัดนครศรีธรรมราช
ในการนี้ หน.ผตร.อว. ได้ชื่นชมทีมนักวิจัยที่มีผลการดำเนินงานโครงการเชิงประจักษ์ ในการเผยแพร่ฐานข้อมูลเพื่อให้ชุมชนและหน่วยงานในพื้นที่ได้นำไปใช้ประโยชน์ ต่อยอดองค์ความรู้ด้านอื่นๆ นอกเหนือจากงานวิจัยเพื่อการพาณิชย์ รวมทั้งบอกเล่าเรื่องราว สะท้อนอัตลักษณ์ ตลอดจนสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล
ในเรื่องอาหารและการท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี ในการนี้ หน.ผตร.อว. ได้ให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ดังนี้
1. การดำเนินโครงการฐานข้อมูลทรัพยากรกุ้งเคยฯ ในระยะต่อไป หากวัตถุประสงค์และตัวชี้วัดโครงการไม่สอดคล้องกับเกณฑ์วัดผล (Objective Key Results: KORs) ของ วช. อาจประสานหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ขอรับการสนับสนุนด้านการพัฒนาและยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์/ผู้ประกอบการ
2. การทำสินค้าต้นแบบเพื่อทดลองตลาด จำเป็นต้องมีการวางแผนและกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจนว่า ชุมชน/ผู้ประกอบการต้องการผลิตผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่ายภายในประเทศหรือเพื่อส่งออก เพื่อจะได้วางแผนด้านกำลังการผลิตต่อไป
3. เชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยว โดยทำเป็น route chain ที่รวมแหล่งร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ซึ่งสามารถใช้ข้อมูลการท่องเที่ยวได้จากฐานข้อมูล U2T และส่งข้อมูล route chain ให้กับหน่วยงานด้านการท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
ข้อมูลข่าวโดย : กลุ่มตรวจราชการ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
เว็บไซต์นี้ เป็นเว็บไซต์หน่วยงานของรัฐในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดตั้งขึ้นเพื่อมุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการ สป.อว. เพื่อเข้าสู่มาตรฐานการบริหารจัดการภาครัฐ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของสำนักงานปลัดกระทรวง โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป