กลุ่มพัฒนาระบบสารสนเทศ (พร.กรข.) มีหน้าที่
ระบบสารสนเทศ ระบบฐานข้อมูลในการสนับสนุนการปฏิบัติงาน ได้แก่
โดยกระบวนการพัฒนาระบบจะดำเนินการตามวัฏจักรการพัฒนาซอฟต์แวร์ หรือ Software Devleopment Life Cycle : SDLC ดังนี้
เป็นวัฏจักรพื้นฐานในการพัฒนาซอฟต์แวร์ หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นับตั้งแต่เริ่มเก็บความต้องการ (Get Requirement) ไปจนถึงการสำรวจความเห็นย้อนกลับ (Feedback) มาที่ผู้พัฒนา
Software Development Life Cycle มีส่วนประกอบพื้นฐาน ดังต่อไปนี้
การวางแผนการพัฒนาซอฟต์แวร์ เริ่มต้นจาก การเก็บความต้องการ (Get Requirement) ทั้งจากลูกค้า (Customer) หรือผู้ใช้งาน (User) อาจจะเป็นการกำหนดจากขั้นตอนทางธุรกิจ หรือ Business Process ก็ได้
เมื่อเราได้ความต้องการจากลูกค้า หรือผู้ใช้งานแล้ว จะเข้าสู่ขั้นตอนการวิเคราะห์ระบบ ซึ่งจะต้องวิเคราะห์ความคุ้มค่าในการลงทุน (Return On Investment: ROI) ว่าคุ้มค่าในการดำเนินการต่อหรือไม่
เมื่อเราคำนวณความคุ้มค่าของโครงการแล้ว จึงจะนำมาจัดทำขอบเขตของโครงการ หรือ Project Scope Of Work เพื่อกำหนดขอบเขตการพัฒนาซอฟต์แวร์ว่าเราจะทำหรือไม่ทำอะไรบ้าง โดยขั้นตอนนี้จะต้องสรุปกับลูกค้า หรือผู้ใช้งาน ตามความต้องการ (Requirement) ที่ได้เก็บมาตั้งแต่ต้น จนได้ข้อสรุปที่ตกลงได้ทั้ง 2 ฝ่าย
เมื่อเราสามารถสรุปขอบเขตของโครงการได้แล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ การทำแผนการปฏิบัติการ หรือ Action Plan เพื่อกำหนดการทำงานภายใต้ระยะเวลาตามที่ได้สรุปกับลูกค้า หรือผู้ใช้งาน ในขอบเขตของโครงการ (Project Scope Of Work)
การออกแบบระบบนี้ นอกจากการออกแบบทางด้านซอฟต์แวร์ ทั้งหน้าจอตอบสนองผู้ใช้งาน (User Interface: UI) และการโค้ดซอฟต์แวร์ (Software Coding) ด้วยการทำรายละเอียดซอฟต์แวร์ หรือ Software Specification แต่จะรวมถึงการออกแบบฐานข้อมูล (Database Design) และเครือข่าย (Network Design) ด้วย เพื่อให้ซอฟต์แวร์สามารถทำงานได้ตามความต้องการของลูกค้า หรือผู้ใช้งาน
เมื่อทำการออกแบบระบบเรียบร้อยแล้ว จะเข้าสู่ขั้นตอนการพัฒนาซอฟต์แวร์ให้ใช้งานได้จริง โดยพัฒนาซอฟต์แวร์ตามที่ได้ออกแบบไว้แล้ว ให้กลายเป็นความจริง สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงตามความต้องการของลูกค้า หรือผู้ใช้งาน ตามที่ได้เก็บมา
ขั้นตอนนี้จะทำอยู่ในสภาวะแวดล้อมทดสอบ หรือ Test Environment
หลังจากพัฒนาซอฟต์แวร์แล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการทดสอบและการบูรณาการ จะต้องทำการทดสอบจนกว่า ความผิดพลาดของซอฟต์แวร์ หรือบั๊ก (Bug) จะลดน้อยมากที่สุด หรือไม่มีเลยก็ยิ่งดี
การทดสอบซอฟต์แวร์จะมี 2 ขั้นตอน คือ
– การทดสอบระบบย่อย หรือ Unit Test เป็นการทดสอบระบบย่อยๆทีละระบบว่า สามารถทำงานได้ตามที่ออกแบบไว้หรือไม่
– การทดสอบทั้งระบบ หรือ System Integrate Test (SIT) เป็นการเอาระบบย่อยๆ หลายๆระบบ มารวมกันให้ทำงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ตรงตามความต้องการที่เก็บมาจากลูกค้า หรือผู้ใช้งาน
เมื่อทำการทดสอบเสร็จแล้ว จึงจะนำไปให้ลูกค้า หรือผู้ใช้งาน ทำการทดสอบครั้งสุดท้ายก่อนใช้งานจริง (User Acceptance Test: UAT) เมื่อลูกค้า หรือผู้ใช้งานทดสอบระบบและลงนามในเอกสาร UAT เป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงจะเริ่มใช้งานระบบจริง หรือ Go Live โดยการนำระบบที่อยู่ในสภาวะแวดล้อมทดสอบ (Test Environment) ขึ้นไปที่สภาวะแวดล้อมใช้งานจริง (Production Environment)
เมื่อทำการ Go Live ระบบแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ การบำรุงรักษาซอฟต์แวร์
เมื่อใช้งานไปสักระยะ ลูกค้า หรือผู้ใช้งาน อาจจะพบข้อผิดพลาดของซอฟต์แวร์ (Bug) เพิ่มเติม หากสามารถแก้ไขได้ ก็ให้ทำการแก้ไข
แต่ถ้าหากแก้ไขไม่ได้ จำเป็นต้องพัฒนาซอฟต์แวร์เพิ่มเติม ก็ให้ย้อนกลับไปทำตั้งแต่ข้อ 1 วางแผนและเก็บความต้องการจากลูกค้า หรือผู้ใช้งานใหม่อีกครั้ง
หน่วยงานใน สป.อว. สามารถแจ้งความประสงค์ในการพัฒนาระบบสารสนเทศ ได้ที่แบบฟอร์มคำขอพัฒนา/ปรับปรุงระบบสารสนเทศ เพื่อที่ พร.กรข. จะได้วางแผนการพัฒนาระบบสารสนเทศต่อไป
เว็บไซต์นี้ เป็นเว็บไซต์หน่วยงานของรัฐในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดตั้งขึ้นเพื่อมุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการ สป.อว. เพื่อเข้าสู่มาตรฐานการบริหารจัดการภาครัฐ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของสำนักงานปลัดกระทรวง โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป