จากปัญหาการทุจริตที่ผ่านมา มีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้มีคำสั่งที่ ๖๙ /๒๕๕๗ เรื่องมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบ ลงวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๗ ให้ทุกส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐกำหนดมาตรการหรือแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบในหน่วยงาน โดยมุ่งการสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารงาน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการตรวจสอบ เฝ้าระวัง เพื่อสกัดกั้นมิให้เกิดการทุจริตประพฤติมิชอบ รัฐบาลได้เห็นถึงความสำคัญของการแก้ไขปัญหาการทุจริต ซึ่งได้กำหนดเป็นวาระแห่งชาติ
โดยรัฐบาลได้เสริมสร้างกลไกขับเคลื่อนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริต ขึ้นมา ๓ ระดับคือ คณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ เป็นกลไกระดับนโยบาย มีนายกรัฐมนตรี /หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เป็นประธาน กรรมการจัดตั้งศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติให้เป็นกลไกขับเคลื่อนภาพรวมประดับประเทศ และกลไกระดับปฏิบัติการ โดยการออกมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต ซึ่งประจำอยู่ทุกส่วนราชการระดับกระทรวง หรือเทียบเท่า ปัจจุบันมีจำนวน 35 ศูนย์ ให้เป็นกลไกประสานงาน กำกับ ติดตาม และรายงานผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย ข้อสั่งการ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริต กับหน่วยงานภายใต้กำกับทั้งหมด ซึ่งได้แก่หน่วยงานส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น รวมทั้ง รัฐวิสาหกิจ และองค์การมหาชน โดยมีสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ เป็นกลไกขับเคลื่อนประสาน กำกับ ติดตามผลการปฏิบัติงานของศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต ในฐานะที่สำนักงาน ป.ป.ท. เป็นฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ
ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต มีบทบาท ภารกิจ อำนาจหน้าที่ ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ และด้านคุ้มครองจริยธรรม ดังนี้
Since corruption has been a severe problem in Thailand, on 18 June 2014, the National Committee of Peace and Order (NCPO) issued an Order No.69/2014 on “Measures to Prevent Corruption and Misconduct” assigning all government and state agencies to define the measures and procedures to prevent and eliminate corruption and misconduct in their organisations. The order focused on building good governance at work and encouraging all relevant sectors to participate in inspecting and monitoring government activities in order to prevent corruption in the public sector. A strong focus on combating corruption is vital, the Royal Thai Government, therefore, held the war on corruption as a national agenda.
RTG has strengthened the 3 level mechanisms to prevent and eliminate corruption as follows;
1. At the policy level: the National Anti-Corruption Committee chaired by the Prime Minister/Head of NCPO
2. At the national level: the National Anti-Corruption Centre driving the overall domestic performance.
3. At the operational level: the Anti-Corruption Operation Centre established in all ministries or their equivalent which their efficiency have been significantly improved.
Recently, there are 35 Anti-Corruption Operation Centres to coordinate, direct, monitor, and report agencies’ anti-corruption performance. These agencies are from central, regional and local as well as state enterprises and public organisations. PACC as the secretary to the National Anti-Corruption Committee is regarded as a mechanism to coordinate, direct and monitor the activities of Anti-Corruption Operation Centres’ operation.
Roles, missions and authorities of the Anti-Corruption Operation Centre to prevent and suppress corruption and misconduct and protect ethics are as follows;
๑. เสนอแนะแก่ปลัดกระทรวงเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของส่วนราชการในสังกัด รวมทั้งจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของส่วนราชการในสังกัดให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต มาตรการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ และนโยบายของรัฐบาลที่เกี่ยวข้อง เสนอต่อปลัดกระทรวง
๒. ประสานงาน เร่งรัด และกำกับในส่วนราชการในสังกัดดำเนินการตามแผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของส่วนราชการ
๓. รับข้อร้องเรียนเรื่องการทุจริต การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของเจ้าหน้าที่ในส่วนราชการ และส่งต่อไปยังส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๔. คุ้มครองจริยธรรมตามประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน
๕. ประสานงาน เร่งรัด และติดตามเกี่ยวกับการดำเนินการตาม (๓) และ (๔) และร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบกับส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๖. ติดตาม ประเมินผล และจัดทำรายงานการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของส่วนราชการในสังกัดและการคุ้มครองจริยธรรม เสนอต่อปลัดกระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๗. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ปลัดกระทรวงมอบหมาย
1. Study, analyse and gather information for drafting recommendations, measures and guidelines to prevent and suppress corruption and misconduct in a public sector to the heads of the organisations.
2. Prepare the action plan to prevent and suppress corruption and misconduct in the public sectors.
3. Advise, coordinate, expedite and monitor the public sectors, state enterprises and public organisations under supervision of each Ministry according to the action plan.
4. Receive complaints against officials in the public sectors, state enterprises and public organisations under supervision of each Ministry involving corruption activities, wrongfully performing or failing to perform their duties. These complaints will be forwarded to agencies in charge as well as other relevant authorities and will be followed-up by the Prevention and Suppression of Corruption and Misconduct Unit until the final outcome is reached.
5. Operate and coordinate with the Anti-Corruption Administration Centre, PACC, NACC, or other relevant organisations as assigned by the Anti-Corruption Administration Centre and direct/monitor the implementation of other related National Anti-Corruption Committee’s resolutions and orders.
6. Compare and inspect the administrative and disciplinary actions of accountable agencies and submit the recommendations to the Permanent Secretary or the Minister of each Ministry depending on circumstances and subsequently notify the Ministry’s Anti-Corruption Centre.
7. Publicize news on prevention and suppression of corruption and misconduct in the public sector.
8. Encourage all sectors to participate in the prevention and suppression of corruption in government activities.
9. Monitor the performance of the public sector, state enterprises and public organisations, and report the overall results on prevention and suppression of corruption and misconduct to PACC, NACC, OCSC and other relevant organisations.
๑. คุ้มครองจริยธรรมตามประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน และประมวลจริยธรรมอื่นๆ
๒. ทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการจริยธรรมประจำส่วนราชการ
๓. ประสานการดำเนินงานเกี่ยวกับจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปี แผนงาน/โครงการ ตลอดจนบูรณาการแผนงาน/โครงการเกี่ยวกับการคุ้มครองจริยธรรม การส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม จรรยาข้าราชการ และเสริมสร้างวินัยของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชนในกำกับของกระทรวง
๔. รวบรวมปัญหาการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมของส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชนในกำกับของกระทรวง ตลอดจนเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงประมวลจริยธรรมต่อสำนักงาน ก.พ.
๕. ติดตาม ประเมินผลการดำเนินการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม จรรยาข้าราชการ การเสริมสร้างวินัย และการดำเนินการตามประมวลจริยธรรมข้าราชการของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจและองค์การมหาชนเสนอหัวหน้าส่วนราชการ และส่งผลการดำเนินการให้กลุ่มงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ จัดทำรายงานผลการดำเนินงานการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาพรวมของส่วนราชการ
1. Protect ethics as prescribed in the Civil Servant’s Code of Ethics and other Code of Ethics.
2. Serve as the secretary to the Ethics Committee in the public sector.
3. Coordinate on the annual Action Plan and work plan/project, integrate work plan/project on ethics protection and promotion of virtue, ethics, and civil servants’ morality as well as strengthening the discipline in the public sectors, state enterprises and public organisations.
4. Gather information from the public sectors, state enterprises and public organisations under the supervision of each Ministry when implementing the Code of Ethics. Recommend the guidelines to improve the Code of Ethics to the Office of the Civil Service Commission (OCSC).
5. Monitor/evaluate the organisations’ operation to promote virtue, ethics, and civil servants’ morality, strengthen officers’ self-discipline and follow the Code of Ethics of public sectors, state enterprises and public organisations present the outcome to the head of each organisation. The Ethics Protection Unit will submit the organisations’ operations report to the Prevention and Suppression of Corruption and Misconduct Unit and prepares an overall performance report of prevention and suppression of corruption and misconduct in the public sectors.
เว็บไซต์นี้ เป็นเว็บไซต์หน่วยงานของรัฐในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดตั้งขึ้นเพื่อมุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการ สป.อว. เพื่อเข้าสู่มาตรฐานการบริหารจัดการภาครัฐ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของสำนักงานปลัดกระทรวง โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป