Call Center 1313

ขนาดตัวอักษร เล็ก ปกติ ใหญ่

Agenda-based Flagships 5 ประเด็น สำหรับปี 2563-2566

1 agenda based fs 

คณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้กำหนด agenda-based flagships 5 ประเด็น สำหรับปี 2563-2566 โดยมีคณะอนุกรรมการรับผิดชอบในแต่ละประเด็น ดังนี้

(1) การเร่งสร้างและพัฒนากำลังคนของประเทศ และจัดการศึกษาตลอดชีวิต รับผิดชอบโดยคณะอนุกรรมการด้านการสร้างและพัฒนาบัณฑิต
(2) การพลิกโฉมมหาวิทยาลัย รับผิดชอบโดยคณะอนุกรรมการด้านการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย
(3) การขับเคลื่อนความเป็นสากล รับผิดชอบโดยคณะอนุกรรมการด้านการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย
(4) การจัดทำและใช้ฐานข้อมูลการอุดมศึกษา รับผิดชอบโดยคณะอนุกรรมการด้านฐานข้อมูลอุดมศึกษา
(5) การยกระดับธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษา รับผิดชอบโดยคณะอนุกรรมการด้านธรรมาภิบาล

ทั้งนี้ ได้จัดทำเป็นกรอบและแนวทางการติดตามและประเมินผลด้านการอุดมศึกษาไว้ด้วย

การเร่งสร้างและพัฒนากำลังคนของประเทศ และจัดการศึกษาตลอดชีวิต 

คณะกรรมการการอุดมศึกษา ตามหน้าที่และอำนาจที่บัญญัติในมาตรา 21 (1) แห่งพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 จึงเห็นชอบให้จัดทำและประกาศใช้ปรัชญาการอุดมศึกษาไทยและระบบอุดมศึกษาใหม่ ด้านการสร้างบัณฑิตและพัฒนากำลังคน พร้อมแผนการขับเคลื่อนการผลิตและพัฒนากำลังคนตามปรัชญาการอุดมศึกษาไทย ปี พ.ศ. 2565-2566 เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ ใช้เป็นแนวทางและวิธีการในการสร้างบัณฑิตและพัฒนากำลังคน พร้อมทั้งให้จัดทำแผนที่ทักษะ (skill mapping) ด้านอุปสงค์ (demand side) และวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งนำไปสู่การผลักดันให้มีการจัดทำทักษะที่พึงประสงค์ของกำลังคนในสาขาต่าง ๆ อาทิ สาขาเกษตรสมัยใหม่ สาขาการตลาดดิจิทัล สาขาท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ สาขานักวิทยาศาสตร์ข้อมูล สาขายานยนต์ไฟฟ้า และได้ต่อยอดไปยังการจัดทำใบแสดงทักษะ (skill transcript) รวมถึงการพัฒนาทักษะกำลังคนของประเทศ (reskill/upskill/new skill) โดยการสร้างหรือปรับปรุงหลักสูตรประกาศนียบัตร (non-degree) อาทิ โครงการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ฯ ที่ได้คัดเลือกหลักสูตรที่ประสบความสำเร็จ จำนวน 20 หลักสูตร เพื่อพัฒนาเป็นหลักสูตรต้นแบบในการพัฒนาทักษะกำลังคน (reskill/upskill/new skill) เพื่อการมีงานทำ

การพลิกโฉมมหาวิทยาลัย 

คณะกรรมการผลักดันให้มีการดำเนินการตามที่กฎกระทรวงการจัดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2564 กำหนด ทั้งการจัดทำคุณลักษณะ ตัวชี้วัด นิยามปฏิบัติการของการกำหนดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา 5 กลุ่ม คือ กลุ่มพัฒนาการวิจัยระดับแนวหน้าของโลก กลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม กลุ่มพัฒนาชุมชนท้องถิ่นหรือชุมชนอื่น กลุ่มผลิตและพัฒนาบุคลากรวิชาชีพและสาขาจำเพาะ และกลุ่มพัฒนาปัญญาและคุณธรรมด้วยหลักศาสนา ตลอดจนให้ข้อเสนอแนะประกอบการจัดทำแผนพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับปรับปรุง) เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงของแผนต่าง ๆ และนำไปสู่ผลลัพธ์ของภาคอุดมศึกษาที่สามารถตอบโจทย์ของประเทศได้ ทั้งนี้ ในช่วง 4 ปี คณะกรรมการได้เห็นชอบให้สถาบันอุดมศึกษาจำนวน 108 แห่ง (สถาบันอุดมศึกษาในสังกัด/ในกำกับรัฐ 85 แห่ง และสถาบันอุดมศึกษาเอกชน 23 แห่ง) จัดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา ตามผลการประเมินตนเองและแผนการพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษาฯ โดยคณะกรรมการได้มีข้อเสนอแนะแนวทางการสนับสนุนงบประมาณโครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัยให้มีแนวทางที่ชัดเจน ทั้งวัตถุประสงค์ ขอบเขตและเป้าหมาย กระบวนการจัดทำงบประมาณ เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาสามารถพลิกโฉมได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างแท้จริง

การปฏิรูปสถาบันอุดมศึกษาผ่านการพลิกโฉมมหาวิทยาลัยส่งผลกระทบต่อการพัฒนาบุคลากร เศรษฐกิจ สังคม และความร่วมมือระดับนานาชาติในวงกว้างทั้งมิติด้านการพัฒนาบุคลากร มิติด้านการพัฒนาทางเศรษฐกิจ มิติด้านการพัฒนาทางสังคม มิติด้านการพัฒนาสิ่งแวดล้อม และมิติด้านการพัฒนาความร่วมมือระดับนานาชาติ

การขับเคลื่อนความเป็นสากล

คณะอนุกรรมการด้านการพลิกโฉมมหาวิทยาลัยได้นำกลยุทธ์เชิงรุกเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษาสู่ความเป็นสากลบูรณาการร่วมกับกลไกการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย 5 แพลตฟอร์ม เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนการพลิกโฉมอุดมศึกษาไทยสู่ความเป็นสากล โดยจัดทำแผนการดำเนินงานการสนับสนุนและส่งเสริมความร่วมมือของสถาบันอุดมศึกษาไทยกับเครือข่ายนานาชาติ ประกอบด้วย 6 กิจกรรมหลัก ดังนี้

(1) การพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อการสนับสนุนและส่งเสริมความร่วมมือของสถาบันอุดมศึกษาไทยกับเครือข่ายนานาชาติ
(2) การดึงดูดบุคลากรคุณภาพสูงจากต่างประเทศ
(3) การดึงดูดนักศึกษาจากต่างประเทศ
(4) การยกระดับมาตรฐานของหลักสูตรสู่ระดับสากล
(5) การประสานงานและเจรจาเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือระดับหน่วยงานรัฐต่อรัฐ และ
(6) การส่งเสริมภาพลักษณ์ และสร้างความเข้มแข็งและความร่วมมือด้านความเป็นนานาชาติของสถาบันอุดมศึกษาไทย

โดยได้จัดทำแผนการดำเนินงานการสนับสนุนและส่งเสริมความร่วมมือของสถาบันอุดมศึกษาไทยกับเครือข่ายนานาชาติเพื่อใช้เป็นแนวทางในการออกแบบและพัฒนากลไกตลอดจนแนวทางการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของสถาบันในการพัฒนาความร่วมมือกับสถาบันในระดับนานาชาติ ร่วมกับกลไกการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย 5 แพลตฟอร์ม เพื่อยกระดับคุณภาพและมาตรฐานของสถาบันอุดมศึกษาของไทยให้อยู่ในระดับสากล

การจัดทำและใช้ฐานข้อมูลการอุดมศึกษา

คณะกรรมการมีหน้าที่และอำนาจตามมาตรา 21 (7) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 ที่ต้องกำกับ เร่งรัด ติดตาม และให้คำแนะนำแก่สำนักงานปลัดกระทรวงในการจัดทำฐานข้อมูลการอุดมศึกษา โดยอย่างน้อยต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับสถาบันอุดมศึกษาทุกประเภท ผู้เรียน คณาจารย์ ผู้ใช้บัณฑิต และสถิติอื่นที่ถูกต้องและทันสมัย รวมทั้งการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลดังกล่าว เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการอุดมศึกษา และการพัฒนาประเทศบนฐานความรู้ได้ ตลอดจนเปิดเผยข้อมูลและผลการวิเคราะห์ สังเคราะห์ต่อสาธารณชน ดังนั้น ในช่วงวาระ 4 ปีที่ผ่านมาคณะกรรมการจึงให้ความสำคัญในการให้นโยบาย ความเห็น และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาระบบข้อมูลการอุดมศึกษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนและผลักดันให้ สป.อว. ดำเนินการในภารกิจดังกล่าวให้ประสบผลสำเร็จตามที่กฎหมายกำหนด โดยผลการดำเนินงานตามมติและข้อเสนอแนะของคณะกรรมการที่เกี่ยวกับการจัดทำฐานข้อมูลการอุดมศึกษา อาทิ ผลสำเร็จในการจัดทำกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาการเปิดเผย และการส่งข้อมูลการอุดมศึกษา พ.ศ. 2566 รวมถึงกฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง กรอบและแนวทางการพัฒนาระบบข้อมูลการอุดมศึกษา แผนพัฒนาระบบข้อมูลการอุดมศึกษา (พ.ศ. 2566-2570) เพื่อการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพการพัฒนากำลังคนของประเทศ และแผนบูรณาการพัฒนาและเชื่อมโยงระบบข้อมูล อววน. (พ.ศ. 2566 - 2570) นอกจากนี้ ยังมีการจัดทำ data catalog ซึ่งปัจจุบันมีชุดข้อมูลที่เผยแพร่ จำนวน 56 ชุด การพัฒนาระบบการเชื่อมโยงข้อมูลและระบบคลังข้อมูลเพื่อรองรับนโยบายด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (UniCon) เพื่อบูรณาการข้อมูล ซึ่งมีรูปแบบการจัดส่งข้อมูล 3 รูปแบบ คือ Model 1 system-to-system Model 2 Excel add-In และ Model 3 CSV File โดยในปัจจุบัน มีสถาบันอุดมศึกษาเข้าร่วม 171 แห่ง และมีระบบสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจของผู้บริหาร (BI) ซึ่งทั้งหมดจะเป็นกลไกในการส่งเสริมการเชื่อมโยงและการใช้ประโยชน์ข้อมูลอุดมศึกษาในการพัฒนาการผลิตและพัฒนากำลังคนที่ตอบโจทย์ประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การยกระดับธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษา

พระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 มาตรา 10 บัญญัติให้รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการอุดมศึกษา กำหนดแนวปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามหลักการตามมาตรา 9 และเพื่อให้การจัดการอุดมศึกษาบรรลุวัตถุประสงค์ตามมาตรา 5 โดยแนวปฏิบัตินั้น เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ นอกจากนี้ ยังกำหนดให้สถาบันอุดมศึกษาทุกแห่ง เปิดเผยผลการดำเนินการตามแนวปฏิบัติให้ประชาชนทราบตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการอุดมศึกษาซึ่งตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา คณะกรรมการได้มีข้อเสนอแนะพร้อมทั้งรับฟังความเห็นจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาจัดทำและปรับปรุงแนวปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษา และแนวปฏิบัติตามหลักความรับผิดชอบต่อสังคม หลักเสรีภาพทางวิชาการ หลักความเป็นอิสระ และหลักความเสมอภาค อย่างต่อเนื่อง โดยได้มีการประกาศใช้แนวปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษาและแนวปฏิบัติตามหลักความรับผิดชอบต่อสังคม หลักเสรีภาพทางวิชาการ หลักความเป็นอิสระ และหลักความเสมอภาค เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2564 และแนวปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ 2) และแนวปฏิบัติตามหลักความรับผิดชอบต่อสังคมหลักเสรีภาพทางวิชาการ หลักความเป็นอิสระ และหลักความเสมอภาค (ฉบับที่ 2) เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2565 เพื่อให้แนวปฏิบัติดังกล่าว นำไปสู่การปฏิบัติของสถาบันอุดมศึกษาภายใต้บริบทที่หลากหลายได้อย่างถูกต้องและสอดคล้องตามที่กฎหมายกำหนด และนำพาสถาบันอุดมศึกษาสู่ความเป็นเลิศทางด้านวิชาการและการบริหารจัดการที่ดี

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คณะกรรมการการอุดมศึกษา ชุดที่ 6 (ชุดปัจจุบัน)

คณะกรรมการการอุดมศึกษา ชุดที่ 6 (ชุดปัจจุบัน)

(ชุดที่ 2 ภายใต้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562)

------------------------------------------------

 pradit

 kittichai

sp                         suthep 

 15                anan                       parnsiri         

surachai                    sompong

isara                            keerat 

 jitnara                   perapong                  yuttana  

 rawin                     wara                  surin 

varaporn 

 

 

รายนามคณะกรรมการการอุดมศึกษา ชุดที่ 5

 

 

 

 

 

 

คณะกรรมการการอุดมศึกษา ชุดที่ 4

คณะกรรมการการอุดมศึกษา ชุด 4
------------------------------------------------
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการการอุดมศึกษา คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2562

ศาสตราจารย์ประสาท สืบค้า
ประธานกรรมการ

 

ศาสตราจารย์เกียรติคุณกิตติชัย วัฒนานิกร    
รองประธานกรรมการ คนที่ 1
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ศาสตราจารย์ปานสิริ พันธุ์สุวรรณ  
รองประธานกรรมการ คนที่ 2
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
   

 

 

 

รองศาสตราจารย์สรนิต ศิลธรรม
ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กรรมการโดยตำแหน่ง

 

นายการุณ สกุลประดิษฐ์
ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
กรรมการโดยตำแหน่ง

 

นางสาวจารุวรรณ เฮงตระกูล
เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา

กรรมการโดยตำแหน่ง

 

 

 

 

 

 

 

ศาสตราจารย์พิเศษทศพร ศิริสัมพันธ์
เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ
กรรมการโดยตำแหน่ง

 

นายเดชาภิวัฒน์ ณ สงขลา
ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
กรรมการโดยตำแหน่ง

 


         
       
ศาสตราจารย์ชาติชาย ณ เชียงใหม่
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
  รองศาสตราจารย์บัณฑิต ทิพากร
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
  รองศาสตราจารย์ไพโรจน์ ภัทรนรากุล
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

 

 

 

 

 

 

 

 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์รัฐชาติ มงคลนาวิน
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

 

ศาสตราจารย์ศันสนีย์ ไชยโรจน์
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

 

ศาสตราจารย์สมชาย วงศ์วิเศษ
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

 

 

 

 

 

 

ศาสตราจารย์สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

 

รองศาสตราจารย์สุธรรม อยู่ในธรรม
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รองศาสตราจารย์พรชัย เทพปัญญา
กรรมการผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

 

รองศาสตราจารย์ประสบศรี อึ้งถาวร
กรรมการผู้แทนองค์กรวิชาชีพ

 

นายธนู กุลชล
กรรมการผู้แทนองค์กรเอกชน

 

 

 

 

 

 

 

\

 

 

 

 

 

ศาสตราจารย์สัมพันธ์ ฤทธิเดช
เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา
กรรมการและเลขานุการ

 

 

 

 

 

 

นางอรสา ภาววิมล
รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ผู้ช่วยเลขานุการ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เว็บไซต์นี้ เป็นเว็บไซต์หน่วยงานของรัฐในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดตั้งขึ้นเพื่อมุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการ สป.อว. เพื่อเข้าสู่มาตรฐานการบริหารจัดการภาครัฐ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของสำนักงานปลัดกระทรวง โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป

ISO 27001 Audit Certification  ISO 27001:2013 Bureau Veritas Certification UK Limited  AlphaSSL CA - SHA256 - G4   WCAG 2.0 (Level AAA)