ประวัติทบวงมหาวิทยาลัย
การจัดการอุดมศึกษาของไทยได้เริ่มมาแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และอุดมศึกษาในสมัยนั้นมีหลากหลาย ทั้งโรงเรียนกฎหมาย โรงเรียนแพทย์ และโรงเรียนข้าราชการพลเรือนที่ต่อมาได้รับการยกฐานะเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย และได้มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยแห่งอื่นขึ้นอีกในเวลาต่อมา ได้แก่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยศิลปากร โดยสังกัดอยู่ในกระทรวงต่างๆ เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สังกัดกระทรวงเกษตร เป็นต้น
จนถึงปี พ.ศ.๒๕๐๒ รัฐบาลสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ตราพระราชบัญญัติโอนมหาวิทยาลัยทุกแห่งไปสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี เนื่องจากได้มีพระราชบัญญัติจัดตั้งสภาการศึกษาแห่งชาติขึ้นในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี และเห็นว่าการที่มหาวิทยาลัยแยกกันอยู่ต่างกระทรวงเป็นเรื่องยากในการปกครอง และการสร้างมาตรฐานการศึกษา การโอนมารวมอยู่ในสำนักนายกรัฐมนตรีทั้งหมดจะเป็นการสะดวกในการดำเนินการ ทั้งในด้านวิชาการและธุรการ และจะบรรลุตามเจตนารมณ์ของการจัดตั้งสภาการศึกษาแห่งชาติ เพื่ออำนวยประโยชน์ต่อการเร่งรัดการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติซึ่งเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลในขณะนั้น
ในปี พ.ศ.๒๕๑๔
สภาการศึกษาแห่งชาติและที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยของรัฐได้ร่วมกันเสนอความเห็นต่อจอมพลถนอม กิตติขจร หัวหน้าคณะปฏิวัติ ว่า มหาวิทยาลัยจำเป็นต้องมีอิสระในการปกครองตนเอง มีเสรีภาพทางวิชาการในการถ่ายทอดและแสวงหาความรู้ โดยถือหลักความเป็นเลิศทางวิชาการ จึงควรแยกมหาวิทยาลัยออกจากระบบราชการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาล หากไม่สามารถดำเนินการได้ ควรจัดตั้งทบวงอิสระหรือทบวงในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อเป็นหน่วยงานต้นสังกัดของมหาวิทยาลัยต่างๆ ทบวงมหาวิทยาลัยได้รับการจัดตั้งโดยประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๑๖ ลงวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๑๕ ในชื่อ ทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ ในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการและกำกับการศึกษาของรัฐในระดับอุดมศึกษานอกเหนือจากที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการ ดังนั้น วันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๑๕ จึงเป็นวันสถาปนาทบวงมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ได้มีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๐ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕ กำหนดระเบียบการปฏิบัติราชการของทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐขึ้น เพื่อให้รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยมีอำนาจในการกำหนดนโยบายและแผนการจัดการศึกษา กำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับหลักสูตรการศึกษาและการบริหารงานบุคคล พิจารณาการเสนอและพิจารณาอนุมัติการจัดตั้ง ยุบรวม และเลิกมหาวิทยาลัย คณะและภาควิชา ตลอดจนการติดตามประเมินผลการจัดการศึกษา และเป็นศูนย์ประสานงานด้านการจัดการศึกษาระหว่างมหาวิทยาลัย ทำให้ทบวงมหาวิทยาลัยมีอำนาจหน้าที่แตกต่างจากกระทรวงและทบวงอื่น ที่ไม่ได้มีกฎหมายกำหนดหน้าที่ไว้โดยเฉพาะ
ในปี พ.ศ.๒๕๒๐
รัฐบาลสมัยนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ตราพระราชบัญญัติเปลี่ยนชื่อ ทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ เป็น ทบวงมหาวิทยาลัย และให้ยกฐานะเป็นทบวงอิสระ มีฐานะเทียบเท่ากระทรวง ไม่อยู่ในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารงาน เนื่องจากมีการโอนงานกำกับดูแลสถาบันอุดมศึกษาเอกชนจากกระทรวงศึกษาธิการมาอยู่ในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ยังได้ยกเลิกประกาศของคณะปฏิวัติ
ฉบับที่ ๓๒๐ โดยตราพระราชบัญญัติระเบียบการปฏิบัติราชการของทบวงมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๒๐ ขึ้นแทน เพื่อให้ทบวงมหาวิทยาลัยมีอำนาจควบคุมมหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาที่เป็นของรัฐและเอกชนในสังกัดด้วย ต่อมาพระราชบัญญัตินี้ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๗ เพื่อให้มีอำนาจครอบคลุมมหาวิทยาลัยของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการและอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย คือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกที่ปรับเปลี่ยนสถานภาพจากสถาบันที่เป็นส่วนราชการไปเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับตามนโยบายของรัฐบาลที่จะให้มหาวิทยาลัยของรัฐทุกแห่งที่เป็นส่วนราชการออกจากระบบราชการ
จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๔๖
รัฐบาลของพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ได้ลงประกาศพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.๒๕๔๖ ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๒๐ ตอนที่ ๖๒ก วันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๔๖ โดยพระราชบัญญัตินี้ได้ยกเลิกพระราชบัญญัติระเบียบการปฏิบัติราชการของทบวงมหาวิทยาลัย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๗ ทำให้ทบวงมหาวิทยาลัย ต้องแปรสภาพเป็น สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ตามกฎหมายใหม่ รวมระยะเวลาดำเนินภารกิจ ๓๐ ปี ๙ เดือน ๗ วัน มีรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย และรักษาราชการแทนรัฐมนตรี บริหารราชการ ทั้งสิ้น ๓๘ ท่าน มีปลัดทบวงมหาวิทยาลัยบริหารราชการ ๖ ท่าน
สู่...สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
สืบเนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๔๐ กำหนดให้รัฐต้องจัดการศึกษาอบรม และสนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรม จัดให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ ปรับปรุงการศึกษาให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม สร้างเสริมความรู้และปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สนับสนุนการค้นคว้าวิจัยในศิลปวิทยาการ เร่งรัดการศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาประเทศ พัฒนาวิชาชีพครู และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรมของชาติ รวมทั้งในการจัดการศึกษาของรัฐให้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองท้องถิ่นและเอกชนตามที่กฎหมายบัญญัติ และให้ความคุ้มครองการจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพและเอกชนภายใต้การกำกับดูแลของรัฐ จึงได้ตราพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ และได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๗๔ก วันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๔๒ เพื่อเป็นกฎหมายแม่บทในการบริหารและจัดการการศึกษาอบรมให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยพระราชบัญญัติฉบับนี้ ได้หลอมรวมหน่วยงานด้านการศึกษาเดิม ได้แก่ กระทรวงศึกษาธิการเดิม ทบวงมหาวิทยาลัย และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี เข้าด้วยกัน เป็นกระทรวงใหม่ ชื่อว่า กระทรวงการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม มีโครงสร้างในการแบ่งส่วนราชการในรูปของคณะกรรมการชุดต่างๆ กำกับดูแลการศาสนาและวัฒนธรรม การศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาด้านการอาชีวศึกษา และการศึกษาด้านการอุดมศึกษา โดยทบวงมหาวิทยาลัยจะแปรสภาพตามพระราชบัญญัติฉบับนี้เป็นสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ต่อมารัฐบาลของพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มีนโยบายปฏิรูประบบราชการ เข้าสู่ “ระบบราชการยุคใหม่” โดยปรับภาคราชการให้มีคุณลักษณะธรรมาภิบาล เพื่อยกระดับขีดความสามารถ และเพิ่มประสิทธิภาพของหน่วยงานราชการให้ตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของประชาชน สังคม และประเทศชาติได้ จึงได้มีการปรับบทบาท ภารกิจ และการจัดโครงสร้างระบบบริหารราชการ และระบบบริหารงานบุคคลภาครัฐ ในการจัดโครงสร้างส่วนราชการใหม่ ได้กำหนดให้แยกภารกิจเกี่ยวกับงานด้านศิลปวัฒนธรรม ออกจากภารกิจของกระทรวงการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ ไปจัดตั้งเป็น “กระทรวงวัฒนธรรม” จึงมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๔๕ โดยการจัดระเบียบบริหารราชการในกระทรวงศึกษาธิการใหม่ มีองค์กรหลักที่เป็นคณะบุคคลในรูปสภาหรือในรูปคณะกรรมการ จำนวน ๔ องค์กร ได้แก่ สภาการศึกษา คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษา และคณะกรรมการการอุดมศึกษา เพื่อพิจารณาให้ความเห็นหรือให้คำแนะนำแก่รัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรี และมีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนด
ทั้งนี้ คณะกรรมการการอุดมศึกษา มีหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบายแผนพัฒนา และมาตรฐานการอุดมศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผนการศึกษาแห่งชาติ การสนับสนุนทรัพยากร การติดตามตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา โดยคำนึงถึงความเป็นอิสระและความเป็นเลิศทางวิชาการของสถานศึกษาระดับปริญญา ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งสถานศึกษาแต่ละแห่ง และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษามีสถานภาพเป็นนิติบุคคล แบ่งส่วนราชการตามกฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ โดยแบ่งโครงสร้างการบริหารงานออกเป็น ๙ สำนัก ได้แก่ สำนักอำนวยการ สำนักทดสอบกลาง (ยุบเมื่อวันที่ ๒ กันยายน ๒๕๔๘ ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) พ.ศ.๒๕๔๘) สำนักนโยบายและแผนการอุดมศึกษา สำนักบริหารงานวิทยาลัยชุมชน (โอนกิจการไปเป็นของสถาบันวิทยาลัยชุมชน ตามพระราชบัญญัติสถาบันวิทยาลัยชุมชน พ.ศ. ๒๕๕๘ เมื่อวันที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๕๘) สำนักประสานและส่งเสริมกิจการอุดมศึกษา สำนักมาตรฐานและประเมินผลอุดมศึกษา สำนักยุทธศาสตร์อุดมศึกษาต่างประเทศ สำนักส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพนักศึกษา และสำนักส่งเสริมและพัฒนาสมรรถนะบุคลากร และมีสถาบันอุดมศึกษาในสังกัด จำนวน ๑๕๖ แห่ง ทั่วประเทศ
๑. สถาบันอุดมศึกษำในสังกัด/ในกำกับของรัฐ ๘๔ แห่ง*
๒. สถาบันอุดมศึกษำเอกชน ๗๒ แห่ง*
วิสัยทัศน์ (Vision)
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาเป็นองค์กรหลักที่ชี้นำการพัฒนาอุดมศึกษาไทย ให้เป็นพลังสร้างสรรค์สังคมไทยอย่างยั่งยืน
ค่านิยมร่วม สกอ. (SHARE VALUE) : "ร่วมทีมทำงาน สร้างสรรค์องค์กร สอดคล้องเป้าหมาย โปร่งใสเป็นธรรม นำประโยชน์ส่วนรวม"
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการอุดมศึกษาและจัดทำข้อเสนอนโยบายและมาตรฐานการอุดมศึกษา จัดทำแผนพัฒนาการอุดมศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผนการศึกษาแห่งชาติและพันธสัญญาที่เป็นไปตามข้อเสนอตกลงระหว่างประเทศ พร้อมทั้งวิเคราะห์ หลักเกณฑ์ และแนวทางการสนับสนุนทรัพยากร จัดตั้ง จัดสรรงบประมาณอุดหนุนสถาบันอุดมศึกษาและวิทยาลัยชุมชนตามหลักเกณฑ์และแนวทางที่กำหนด ตลอดจนเสนอแนะการจัดตั้ง ยุบ รวม ปรับปรุงและยกเลิกสถาบันอุดมศึกษาและวิทยาลัยชุมชน นอกจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษายังมีหน้าที่ประสานและส่งเสริมการดำเนินงานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสักยภาพนักศึกษา รวมทั้งผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส
ในระบบอุดมศึกษา และการประสาน ส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยเพื่อสร้างองคืความรู้ใหม่ และเพื่อสนับสนุนการพัฒนาประเทศ รวมทั้งพัฒนาระบบและดำเนินการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการจัดการอุดมศึกษา และการรวบรวมข้อมูล จัดทำสารสนทเศด้านการอุดมศึกษา และดำเนินงานฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการการอุดมศึกษาและคณะกรรมการข้าราชการผลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ตลอดจนปฏิบัติงานอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
โครงสร้างการแบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ตราสัญลักษณ์
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ทบวงมหาวิทยาลัยได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้ตรา “พระวชิระ” อันเป็นตราประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นตราประจำทบวงมหาวิทยาลัย เนื่องจากพระองค์ทรงได้รับการยกย่องว่าทรงเป็นผู้ให้กำเนิดและบุกเบิกการอุดมศึกษาของประเทศไทย ต่อมาทบวงมหาวิทยาลัยแปรสภาพเป็นสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พุทธศักราช ๒๕๔๖ จึงอัญเชิญตรา “พระวชิระ” เป็นเครื่องหมายประจำส่วนราชการ ตราพระราชทานนี้จึงหมายถึง สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา มีความรับผิดชอบการอุดมศึกษาของประเทศไทย
ลักษณะ
เป็นรูปวงกลม มีเส้นรอบวง ๓ เส้น ภายในวงกลมตรงกลางมีรูป “พระวชิระ” ซึ่งเป็นตราประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ข้างวงกลมด้านในมีลายกระหนก ๓ ชั้น เริ่มจากฐานด้านพระวชิระโค้งขึ้นไปเกือบจรดปลายแหลมของพระวชิระ ภายใต้รูปพระวชิระและลายกระหนกมีชื่อส่วนราชการ คือ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
สีประจำ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
สีประจำ คือ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา คือ สีม่วง-สีน้ำเงิน
สีม่วง คือ สีประจำวันเสด็จพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
สีน้ำเงิน คือ สีประจำสถาบันพระมหากษัตริย์
คณะกรรมการการอุดมศึกษา มีหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย แผนพัฒนา และมาตรฐานการอุดมศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผนการศึกษาแห่งชาติ การสนับสนุนทรัพยากร การติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา โดยคำนึงถึงความเป็นอิสระและความเป็นเลิศทางวิชาการของสถานศึกษาระดับปริญญา ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งสถานศึกษาแต่ละแห่ง และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น พระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. ๒๕๔๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มโดยพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐
องค์ประกอบ
(๑) ประธานกรรมการ
(๒) กรรมการโดยตำแหน่ง จำนวนห้าคน ได้แก่ ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
(๓) กรรมการที่เป็นผู้แทนองค์กรเอกชน จำนวนหนึ่งคน
(๔) กรรมการที่เป็นผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวนหนึ่งคน
(๕) กรรมการที่เป็นผู้แทนองค์กรวิชาชีพ จำนวนหนึ่งคน
(๖) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนสิบคน ซึ่งแต่งตั้งจากผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ และความเชี่ยวชาญในด้านการวางแผนยุทธศาสตร์ ด้านกำลังคนของประเทศ ด้านคุณภาพภาพมาตรฐาน ด้านธุรกิจ ด้านมนุษยศาสตร์ ด้านวิจัยและนวัตกรรม ด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์และเทคโนโลยี ด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ด้านเศรษฐกิจการคลังและงบประมาณ ด้านสังคมศาสตร์ หรือด้านอุตสาหกรรม
(๗) เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นกรรมการแaละเลขานุการ
:::::: แหล่งอ้างอิง ::::::
>>>พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546
>>>กฎกระทรวง ว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2546
– สำนักอำนวยการ
– สำนักส่งเสริมและพัฒนาสมรรถนะบุคลากร
– สำนักประสานและส่งเสริมกิจการอุดมศึกษา
-- เงินทุนหมุนเวียนฯ
– สำนักนโยบายและแผนการอุดมศึกษา
– สำนักมาตรฐานและประเมินผลอุดมศึกษา
– สำนักยุทธศาสตร์อุดมศึกษาต่างประเทศ
– สำนักส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพนักศึกษา
– สำนักนิติการ
– สำนักติดตามและประเมินผลอุดมศึกษา
– กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
– กลุ่มตรวจสอบภายใน
– สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา (UniNet)
– โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย (TCU)
– สถาบันคลังสมองของชาติ
สำนัก/กลุ่มงาน | รายชื่อ | เบอร์ติดต่อ |
---|---|---|
เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา | กลุ่มงานกิจการเลขาธิการ | 0 2610 5209 08 8142 4556 FAX 0 2354 5595 |
รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา | หน้าห้อง | 0 2354 5565 |
รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา | หน้าห้อง | -ว่าง- |
รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา | หน้าห้อง | -ว่าง- |
--- สำนักอำนวยการ ---
สำนัก/กลุ่มงาน | รายชื่อ | เบอร์ติดต่อ |
---|---|---|
ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการ | หน้าห้อง | 0 2610 5278 |
กลุ่มงานอำนวยการ | งานอำนวยการ | 0 2-354 5568 |
กลุ่มงานการเงิน งบประมาณและบัญชี | งานการเงิน/งานงบประมาณและบัญชี | 0 2354 5521 / 0 2-354 5538 |
กลุ่มงานพัสดุ | งานพัสดุ | 0 2610 5417 |
กลุ่มงานบริหารบุคคล | งานบริหารบุคคล | 0 2354 5579 |
ศูนย์สารสนเทศอุดมศึกษา | เจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ | 0 2039 5676 - 80 / 0 2039 5533 |
กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ | งานประชาสัมพันธ์ | 0 2039 5608 |
--- สำนักส่งเสริมและพัฒนาสมรรถนะบุคลากร ---
สำนัก/กลุ่มงาน | รายชื่อ | เบอร์ติดต่อ |
---|---|---|
ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและพัฒนาสมรรถนะบุคลากร | หน้าห้อง | 0 2610 5334 |
กลุ่มพัฒนาศักยภาพคณาจารย์และบุคลากร | งานพัฒนาศักยภาพคณาจารย์และบุคลากร | 0 2610 5301 |
กลุ่มนโยบายการพัฒนาทรัพยากรบุคคล | งานนโยบายการพัฒนาทรัพยากรบุคคล | 0 2610 5222 |
กลุ่มมาตรฐานการบริหารงานบุคคล | งานมาตรฐานการบริหารงานบุคคล | 0 2610 5323 |
กลุ่มฐานข้อมูลทรัพยากรบุคคล | งานฐานข้อมูลทรัพยากรบุคคล | 0 2610 5339 |
--- สำนักประสานและส่งเสริมกิจการอุดมศึกษา ---
สำนัก/กลุ่มงาน | รายชื่อ | เบอร์ติดต่อ |
---|---|---|
ผู้อำนวยการสำนักประสานและส่งเสริมกิจการอุดมศึกษา | หน้าห้อง | 0 2039 5551 |
กลุ่มพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา | งานพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา | 0 2039 5538 |
กลุ่มส่งเสริมการสร้างและพัฒนา | งานส่งเสริมการสร้างและพัฒนา | 0 2039 5541 |
กลุ่มส่งเสริมสนับสนุน เผยแพร่และใช้ประโยชน์งานวิจัย | งานส่งเสริมสนับสนุน เผยแพร่และใช้ประโยชน์งานวิจัย | 0 2039 5545 |
กลุ่มพัฒนาเครือข่ายอุดมศึกษา | งานพัฒนาเครือข่ายอุดมศึกษา | 0 2039 5552 |
--- สำนักนโยบายและแผนการอุดมศึกษา ---
สำนัก/กลุ่มงาน | รายชื่อ | เบอร์ติดต่อ |
---|---|---|
ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนการอุดมศึกษา | หน้าห้อง | 0 2039 5583 |
กลุ่มแผนงานงบประมาณ | งานแผนงานงบประมาณ | 0 2039 5601 |
กลุ่มแผนงานและโครงการ | งานแผนงานและโครงการ | 0 2039 5587 |
กลุ่มวางแผนและพัฒนากำลังคน | งานวางแผนและพัฒนากำลังคน | 0 2039 5591 |
กลุ่มพัฒนานโยบายอุดมศึกษา | งานพัฒนานโยบายอุดมศึกษา | 0 2039 5600 |
--- สำนักมาตรฐานและคุณภาพอุดมศึกษา ---
สำนัก/กลุ่มงาน | รายชื่อ | เบอร์ติดต่อ |
---|---|---|
ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานและคุณภาพอุดมศึกษา | หน้าห้อง | 0 2039 5615 |
กลุ่มพัฒนาคุณภาพอุดมศึกษา | งานพัฒนาคุณภาพอุดมศึกษา | 0 2039 5626 |
กลุ่มส่งเสริมการจัดการความรู้ | งานส่งเสริมการจัดการความรู้ | 0 2039 5623 |
กลุ่มรับรองมาตรฐานการศึกษา | งานรับรองมาตรฐานการศึกษา | 0 20395 6111 |
กลุ่มพัฒนามาตรฐานอุดมศึกษา | งานพัฒนามาตรฐานอุดมศึกษา | 0 2039 5616 |
--- สำนักส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพนักศึกษา ---
สำนัก/กลุ่มงาน | รายชื่อ | เบอร์ติดต่อ |
---|---|---|
ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพนักศึกษา | หน้าห้อง | 0 2039 5558 |
กลุ่มส่งเสริมการเรียนรู้ประสบการณ์ | งานส่งเสริมการเรียนรู้ประสบการณ์ | 0 2039 5564 |
กลุ่มพัฒนาทักษะความสามารถและกิจกรรมนักศึกษา | งานพัฒนาทักษะความสามารถและกิจกรรมนักศึกษา | 0 2039 5577 |
กลุ่มพัฒนาระบบสวัสดิการและบริการนักศึกษา | งานพัฒนาระบบสวัสดิการและบริการนักศึกษา | 0 2039 5572 |
กลุ่มกิจการพิเศษ | งานกิจการพิเศษ | 0 2039 5562 |
--- สำนักยุทธศาสตร์อุดมศึกษาต่างประเทศ ---
สำนัก/กลุ่มงาน | รายชื่อ | เบอร์ติดต่อ |
---|---|---|
ผู้อำนวยการสำนักยุทธศาสตร์อุดมศึกษาต่างประเทศ | หน้าห้อง | 0 2610 5404 |
กลุ่มยุทธศาสตร์การพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือกับต่างประเทศ | งานยุทธศาสตร์การพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือกับต่างประเทศ | 0 2354 5615 |
กลุ่มบริหารนโยบายการเปิดเสรีอุดมศึกษา | งานบริหารนโยบายการเปิดเสรีอุดมศึกษา | 0 2644 5913 |
กลุ่มพัฒนาความเป็นศูนย์กลางอุดมศึกษา | งานพัฒนาความเป็นศูนย์กลางอุดมศึกษา | 0 2644 5911 |
กลุ่มส่งเสริมการใช้ประโยชน์ทรัพยากรระหว่างประเทศ | งานส่งเสริมการใช้ประโยชน์ทรัพยากรระหว่างประเทศ | 0 2354 5613 |
--- สำนักติดตามและประเมินผลอุดมศึกษา ---
สำนัก/กลุ่มงาน | รายชื่อ | เบอร์ติดต่อ |
---|---|---|
ผู้อำนวยการสำนักติดตามและประเมินผลอุดมศึกษา | หน้าห้อง | 0 2610 5363 |
กลุ่มติดตามและประเมินผลด้านนโยบายและงบประมาณอุดมศึกษา | งานติดตามและประเมินผลด้านนโยบายและงบประมาณอุดมศึกษา | 0 2610 5359 |
กลุ่มติดตามและประเมินผลด้านคุณภาพมาตรฐานอุดมศึกษา | งานติดตามและประเมินผลด้านคุณภาพมาตรฐานอุดมศึกษา | 0 2610 5455 |
--- สำนักนิติการ ---
สำนัก/กลุ่มงาน | รายชื่อ | เบอร์ติดต่อ |
---|---|---|
ผู้อำนวยการสำนักนิติการ | หน้าห้อง | 0 2610 5450 |
กลุ่มอุทธรณ์และร้องทุกข์ | งานอุทธรณ์และร้องทุกข์ | 0 2610 5446 |
กลุ่มพัฒนากฎหมาย | งานพัฒนากฎหมาย | 0 2610 5447 |
กลุ่มนิติการและคดี | งานนิติการและคดี | 0 2610 5431 |
--- กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร ---
สำนัก/กลุ่มงาน | รายชื่อ | เบอร์ติดต่อ |
---|---|---|
ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร | หน้าห้อง | 0 2232 4000 |
--- หน่วยตรวจสอบภายใน ---
สำนัก/กลุ่มงาน | รายชื่อ | เบอร์ติดต่อ |
---|---|---|
ผู้อำนวยการหน่วยตรวจสอบภายใน | หน้าห้อง | 0 2354 5531 |
--- สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา ---
สำนัก/กลุ่มงาน | รายชื่อ | เบอร์ติดต่อ |
---|---|---|
ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา | หน้าห้อง | 0 2232 4000 |
--- โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย ---
สำนัก/กลุ่มงาน | รายชื่อ | เบอร์ติดต่อ |
---|---|---|
ผู้อำนวยการโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย | หน้าห้อง | 0 2039 5675 |